กัญชาทางการแพทย์

รู้เท่าทัน THC ในกัญชา

คำว่า THC คงเริ่มคุ้นหูสำหรับหลายๆคนแล้ว   ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 ที่ประเทศไทย ปลดล็อกกัญชาให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ได้

มาดูกันว่า THC ในกัญชาคืออะไร เข้าไปทำอะไรในร่างกายของเรา

  1.  เมื่อ THC เข้าสู่ร่างกายของเรา จะไปจับกับตัวรับ ชื่อ CB1และ CB2 ซึ่ง CB1 พบมากที่สมอง ส่วน CB2 พบมากที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกัน
  2.  เมื่อ THC ไปจับตัวรับที่สมองมาก ทำให้มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยจะออกฤทธิ์แบบใด ขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับ
  3. THC ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยลดปวดได้ดี ช่วยลดอาการคลื่นไส้ ลดการอาเจียน
    ช่วยให้อยากอาหาร
  4. ถึงแม้ว่า THC จะช่วยลดการอาเจียนได้ดี แต่ไม่ให้ใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
    อันเนื่องมาจากการแพ้ท้อง
  5. ร่างการได้รับ THC ต่อเนื่องนานๆ มีผลต่อความทรงจำ และทำให้เกิดอาการหลอน
  6. THC มีฤทธิ์เสพติด
  7. THC ทำให้หลอดเลือดขยาย ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ ให้ระวังการเป็นลม
    พลัดตกหกล้ม
  8. ไม่มียาต้านพิษจาก THC ในกรณีที่ได้รับมากเกินขนาด แต่สามารถให้ยาตามอาการ เพื่อแก้ภาวะต่างๆ เช่น การขาดน้ำ เกลือแร่ไม่สมดุล การให้ยานอนหลับ
    การให้ยาต้านอาการจิต
  9. THC ส่งผลให้ปริมาณยาอื่นที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ มีปริมาณมากขึ้น หรือน้อยลง
    ขึ้นกับชนิดของยานั้นๆ

การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา มีทั้งประโยชน์และโทษ ควรใช้อย่างรู้เท่าทัน ภายใต้การดูแลขอแพทย์ ในกรณีใช้ร่วมกับการรักษาโรค จะต้องใช้การรักษาแผนปัจจุบันเป็นหลักเสมอ และควรแจ้งแพทย์ที่รักษาว่ามีการใช้กัญชาร่วมด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้กัญชา และลดผลข้างเคียงให้เหลือน้อยที่สุด

ภญ.สิรินภรณ์ ลิ่มวงศ์

ที่มา • https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2264
• https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/download/250243/170180/
• https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/wp-content/uploads/2021/04/Guidance-Updated-v-update-V.4260464.pdf

Post Views: 1,205
Language »