การฉายรังสี SBRT รักษามะเร็งแพร่กระจายที่ตับ (ตอนที่ 2)

การฉายรังสี SBRT รักษามะเร็งแพร่กระจายที่ตับ (ตอนที่ 2)

    ปัญหาของผู้ป่วยที่มีมะเร็งกระจายไปที่ตับและไม่สามารถควบคุมด้วยการผ่าตัด หรือยาเคมีบำบัด รวมทั้งยามุ่งเป้า คืออาการ ปวดท้อง จากการตึงของแคปซูลที่หุ้มตับ คลื่นไส้,อาเจียน,เหลือง,น้ำหนักลด,เหงื่อออกในเวลากลางคืน

    ซึ่งมีรายงานการบรรเทาอาการด้วยการฉายทั้งตับ หรือเฉพาะส่วนของตับที่ได้ผลดี และเพิ่มคุณภาพชีวิต 53 ถึง 66 % โดยอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ นำไปสู่การรักษาด้วยเทคนิค SBRT ในปัจจุบัน

   อดีต การฉายรังสีเทคนิคทั่วไป จะไม่ค่อยมีบทบาทในการรักษาโรคมะเร็งที่ตับ เพราะเนื้อตับจะทนรังสีได้เพียง 30 Gy(2Gy) ต่อครั้ง และเทคนิคทั่วไปไม่สามารถให้ปริมาณรังสีที่จำเพาะในก้อนมะเร็งได้ ทำให้ปริมาณรังสีที่ได้ ไม่เพียงพอในการควบคุมโรค จึงได้ประโยชน์ในการรักษาไม่มากและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

    ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน มีการบริหารการเคลื่อนไหวของตับ รวมทั้งการรวมรังสีให้จำเพาะที่ก้อนมะเร็ง ทำให้การใช้ปริมาณรังสีสูง 45 ถึง 60 Gy 3-5 ครั้ง ใน 1-2 สัปดาห์

     การเลือกผู้ป่วยและเทคนิคการรักษา ในผู้ป่วยจำนวนที่มีการกระจายน้อยกว่า 3 ก้อน ขนาดแต่ละก้อนน้อยกว่า 6ซม. รวมแล้วไม่เกิน 15 ซม. มีตับดี เหลือมากกว่า 1000 ซีซี และต้องวางแผนให้เนื้อตับอย่างน้อย 700 ซีซี ที่ได้ปริมาณรังสีน้อยกว่า 15 Gy

    ผลการรักษา พบว่าอัตราการควบคุมโรคที่ตับเฉลี่ยสูงถึง 80% ในระยะ 2 ปี (32 – 91%) อัตราการอยู่รอดที่ 2 ปี 26 -75% โดยขึ้นอยู่กับการควบคุมโรคนอกตับด้วย
ยาเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้า

    ภาวะแทรกซ้อน Radiation-induced disease (RILD) พบที่ 4-8 สัปดาห์ หลังการฉายรังสีขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อตับที่ถูกรังสี การทำงานของตับก่อนรักษา สภาวะโรคร่วมนำไปสู่อาการอ่อนเพลีย,ปวดท้อง,ตับโต,แม้ว่า RILD มักจะเกิดจากการฉายทั้งตับ แต่ก็มีรายงานจาก SBRT ได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของอวัยวะข้างเคียง ก็อาจจะเกิดประมาณ 5% 

   อย่างไรก็ตาม ทุกเทคโนโลยีมีข้อจำกัด มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินก่อนการรักษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย

 แหล่งอ้างอิง : journal.netHepatoma Res2020;6:56.10.20517/2364-5079.2020.37
Can radiotherapy finally “go live” in the management of liver metastases?
โดย Reggie G.John และคณะจาก National University Cancer lnstitute Singapore.

Post Views: 3,408
Language »