SBRT รังสีร่วมพิกัด มะเร็งต่อมลูกหมาก

SBRT รังสีร่วมพิกัด มะเร็งต่อมลูกหมาก

    การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินปัสสาวะที่สงสัยมะเร็งต่อมลูกหมากควรได้รับการตรวจวินิจฉัยดังนี้

  • การตรวจทางทวารหนักโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • การตรวจเลือดดูระดับ PSA ซึ่งใช้ในการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตัดชิ้นเนื้อร่วมกับอัลตร้าซาวด์เพื่อดูผลทางพยาธิวิทยา

    จากนั้นจะได้ผลการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงของโรค ที่เรียกว่า GLEASON SCORE จำนวนชิ้นเนื้อที่เจอเซลล์มะเร็ง พร้อมกับการเอกเรย์เพื่อดูการลุกลามของโรคในการกำหนดระยะโรค 

      ในอดีตการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากจะเป็นการผ่าตัดมาพัฒนาโดย การใช้รังสีชนิดฝังไม่ว่าจะเป็นโอโอดีนหรืออิริเดียมส่วนการฉายรังสีจะใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งต่ำและจำนวนครั้งสูงถึง 39 ครั้งหรือ 7-8 สัปดาห์ ในปัจจุบันพบว่าเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากตอบสนองได้ดีต่อปริมาณรังสีสูง จึงมีการใช้จำนวนครั้งการรักษาน้อยลง วิธีหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบันเรียกว่า SBRT หรือรังสีร่วมพิกัดเสมือนผ่าตัด ซึ่งสามารถที่จะทำให้การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากใช้การฉายรังสีเพียง 5 ครั้งเท่านั้น ทำให้ได้ปริมาณรังสีที่สูงในขณะที่ผลการรักษาดีและปลอดภัย ในปัจจุบันได้เป็นทียอมรับ SBRT เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและได้ผลในกลุ่มที่มีความเสี่ยงกลางต่ำ (LOW INTERMEDIAYE RISK) โดยประวัติการรักษาด้วย SBRT เริ่มตั้งแต่ปี 2000 ในปัจจุบันมีรายงานที่เปรียบเทียบถึงผลการรักษามากมาย

      และมีบางรายงานที่แสดงถึงการใช้ SBRT ที่ได้ผลที่ดีกว่าใช้การรักษาโดยฉายรังสี ปริมาณต่ำระยะเวลา 7-8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอยู่ในระหว่างการศึกษาและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การที่จะเลือกว่าใช้ SBRT หรือไม่ แพทย์รังสีมะเร็งวิทยา จะเป็นผู้ที่เปรียบเทียบวิธีการรักษาเพื่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการฝั่งแร่ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อเลือดออก ติดเชื้อ อยู่โรงพยาบาลนานหรือใส่สายปัสสาวะ

    โดยสรุปการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากควรได้รับการดูแลร่วมกันของศัลยแพทย์รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ เพราะจะมีข้อบ่งชี้ ที่แตกต่างกัน SBRT เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้แทนที่การผ่าตัดหรือการฉายรังสีระยะยาว

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

Post Views: 2,880
Language »