คลำพบก้อน กดไม่เจ็บ ระวัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

    จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ ลิมโฟมา (Lymphoma) เป็นมะเร็งที่พบได้ใน 10 อันดับแรกของคนไทย โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มักพบเมื่อมีอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะการพบครั้งแรกในวัย 60-70 ปี

 ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ ลิมโฟมา (Lymphoma) เช่น

  1. การติดเชื้อไวรัส EBV (Epstein – Barr Virus) ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมโต
  2. จากระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การติดเชื้อไวรัส HIV, การปลูกถ่ายอวัยวะ, เป็นโรคไขข้ออักเสบ, SLE
  3. พันธุกรรมในครอบครัวมีผู้เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  4. ผู้ที่สัมผัสสารเคมีบางชนิดต่อเนื่องหรือปริมาณมาก เช่น สารประเภทเบนซีน, ยาฆ่าแมลง

อาการเบื้องต้นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  1. คลำพบก้อน สะดุดก้อนที่บริเวณ คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือบริเวณที่ไม่สามารถระบุสาเหตุอื่นได้ คลำแล้วไม่มีอาการเจ็บ
  2. มีอาการคันทั่วร่างกาย
  3. อาการไอเรื้อรัง ต่อมทอนซิลโต
  4. เหงื่อออกเวลากลางคืน
  5. มีไข้สูงเกิน 38 องศา
  6. น้ำหนักลดมากกว่า 10% โดยไม่ได้ตั้งใจลดน้ำหนัก

การตรวจวินิจฉัย  แพทย์จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และพิจารณาว่าควรตรวจวินิจฉัยเพิ่มด้วยวิธีการใด ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีการวินิจฉัยอาจเป็น

  1. CT Scan การเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์
  2. Bone Scan การตรวจแสกนกระดูก
  3. MRI เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  4. PET Scan
  5. Biopsy การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

   ดังนั้น เมื่อคลำพบก้อนโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน  ให้รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรค หากแพทย์สงสัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ให้เข้ารับการรักษาตามแพทย์แนะนำ ซึ่งระยะเวลาที่รอหรือลังเลเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็อาจส่งผลให้การรักษายากขึ้นได้หากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแบ่งตัวเร็ว และในทำนองเดียวกันหากได้รับการรักษาทันท่วงที มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคหนี่งที่มีการพยากรณ์ของโรคดี มีโอกาสหายขาดสูง  เนื่องจากเทคโนโลยีการรักษาพัฒนาดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเคมีบำบัด รังสีรักษา ภูมิคุ้มกันบำบัด

Post Views: 143
Language »