กัญชาทางการแพทย์แผนไทย

“นอนไม่หลับ” กับกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

ปัจจุบันอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท เป็นปัญหาการที่พบได้ทุกเพศทุกวัย บางท่านอาจมีปัญหาการนอนหลับเป็นครั้งคราว แต่บางท่านอาจมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดความทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจ และยังเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาโดยที่ไม่รู้ตัว

อาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร? 

หากท่านมีอาการเหล่านี้ ใน 1 เดือนที่ผ่านมา แสดงว่าท่านเริ่มมีปัญหา

  • นอนหลับแล้วค่ะ
    นอนไม่หลับหลังจากเข้านอนไปแล้วนานกว่า 30 นาที
  • รู้สึกตัวตื่นขึ้นระหว่างกลางดึกหรือตื่นก่อนเวลาที่ตั้งใจไว้ ตื่นมาแล้วหลับยาก
  • ต้องตื่นเพื่อไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ
  • นอนแล้วหายใจไม่สะดวก ไอ หรือ กรนเสียงดัง รู้สึกหนาวเกินไป รู้สึกร้อนเกินไป ฝันร้าย ละเมอ
  • มีปัญหาง่วงนอน ขณะขับรถ ขณะรับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆ รู้สึกไม่กระตือรือร้น
  • มีการใช้ยาเพื่อช่วยในการนอนหลับ

    อาการนอนไม่หลับ ทางการแพทย์แผนไทยมองว่ามีความสัมพันธ์กับธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เสียสมดุล กำเริบ หย่อน พิการ โดยการนอนไม่หลับเป็นการแสดงออกของธาตุลม โดยถ้าวิเคราะห์ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย พบว่า ถ้าธาตุดินกำเริบ หรือธาตุไฟ กำเริบหรือหย่อน จะส่งผลให้ลมเคลื่อนได้ไม่ดี ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่ปกติ

    ดังนั้นตำรับยาไทยที่ช่วยเรื่องการนอนไม่หลับหลายตำรับ จึงมีกลุ่มยาบางตัวที่มีรสร้อน ที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ ดังเช่น ตำรับยา “ศุขไสยาศน์” จะช่วยเรื่องธาตุไฟที่หย่อน ทำให้ลมพัดไหลเวียนดีขึ้น อาการนอนไม่หลับก็จะดีขึ้น

ภายหลังการใช้ ตำรับยา “ศุขไสยาศน์”พบว่าผู้ป่วยหลับได้ดีขึ้น 82.2 % ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับและลดการใช้ยานอนหลับ ได้ 52% ตั้งแต่เดือนแรกที่ใช้ยา

   อย่างไรก็ตามอาการนอนไม่หลับบางราย อาจเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุที่แตกต่างกัน การวางแผนการรักษาและจ่ายยาจึงแตกต่างกัน ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์จึงมีความสำคัญ เพื่อวางแผนการรักษาและให้คำแนะนำที่ถูกตองครบถ้วน และแก้ปัญหาได้ตรงกับต้นเหตุ

พทป.ประวีร์กร นิธิประภาวัฒน์
แผนกกัญชาทางการแพทย์

ที่มา : Sitasuwan T, Bussaratid S, Ruttanaumpawan P, Chotinaiwattarakul W. Reliability and validity of the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index. J Med Assoc of Thai 2014; suppl 3:57-67
พินิต ชินสร้อย และ กรนิษฐ์ แมลงภู่ทอง. (2563). นวดไทยกับการบำบัดนอนไม่. การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 17. (หน้า 104–110). นนทบุรี.
 เพจสถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร. (2563).คลินิกกัญชาทางการแพทย์:ศุขไสยาศน์ ตำรับกัญชาแผนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.facebook.com/233078 0070540184/posts/2821274328157420/.

Post Views: 4,355
Language »