รายงานการตรวจยีน BRCA ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในโครงการสปสช.
ที่โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา

รัตติยา ทองสุข ,วิลาวัลย์ เล้าสกุล ,พรรณรีย์ ภัทรนุธาพร ,พญ. พนิต ชีวรัตนพงษ์

บทคัดย่อ

      จากผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 188 ราย ที่มารับบริการในโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา พบจำนวน 22 ราย ที่มีข้อบ่งชี้ ตามประกาศ สปสช และได้รับการตรวจยีน BRCA  ผลการตรวจพบความผิดปกติของ BRCA1 จำนวน 1 ราย โดยเป็นผู้ป่วยหญิง อายุ  45 ปี ระยะโรค T3N3Mx มีผล ER, PR และ Her 2  เป็น Negative (Triple Negative)  คิด เป็นร้อยละ 4.5 ของทั้งหมด และคิดเป็น ร้อยละ 7.69 ในกลุ่ม Triple Negative ขณะเดียวกัน พบ VUS 1 ราย ในผู้ป่วย อายุ  65 ปี ระยะโรค T4N2Mx  ซึ่ง เป็น Triple Negative นอกจากนี้ได้ตรวจบุตรสาวผู้ป่วยในรายที่ยีนปกติ  1 ราย พบ ยีน BRCA 1 เช่นเดียวกัน ทั้งหมดได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานที่กำหนด โดยผู้ป่วยราย BRCA 1 เป็นบวกได้รับการผ่าตัด เต้านมด้านตรงข้าม ส่วนลูกสาวได้รับการตรวจ MRI และติดตาม Mammogram ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องทั้งด้านผลการตรวจ และผู้ป่วย พร้อมญาติ ได้รับการรักษาและติดตามตามมาตรฐานที่กำหนด จึงเป็นโครงการที่ได้ประโยชน์ ควรที่จะบริการและรวบรวมผลต่อเนื่องต่อไป

บทนํา

      มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิง พบอัตราการเกิดเท่ากับ 37.8 คน ต่อประชากร 100,000 คน(1)  และจากรายงานสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งเต้านมระยะที่ 1-2 ร้อยละ 63.8 มะเร็งเต้านมระยที่ 3 ร้อยละ 23.9 และมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ร้อยละ 8.8(2) เป็นมะเร็งที่สามารถถ่ายทองทางพันธุกรรมได้ ทำให้สามารถคาดคะเน ความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยพบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของ BRCA1, BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้ถึงร้อยละ 41-90 สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และศูนย์มะเร็งทั่วประเทศ  ทำการศึกษาความชุกของชุดยีน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ (genetic prevalence) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ จำนวน 970 ราย พบความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2 จำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.7

    โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พบความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2 จำนวน 61 ราย คิดเป็นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง ร้อยละ 80 เทียบกับ ร้อยละ 12 ในกลุ่มประชากรทั่วไป และโดยที่การพบยีนนี้จะช่วยผู้ป่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม โดยการตัดเต้านมเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย และสังคมโดยรวม ถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศ จึงมีข้อสรุปว่ากลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการตรวจยีน Breast cancer susceptibility gene 1 (BRCA1)  และ Breast cancer susceptibility gene 2  (BRCA2) รวมทั้งกลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่ตรวจพบการกลายพันธุ์(3-5) กองทุนบัตรทองจึงจัดโครงการนี้มอบให้กับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ์ โดยให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจาก สปสช. โดยตรงได้

    โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา เป็นหนึ่งโรงพยาบาลในภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยมีแพทย์ผู้ผ่านการอบรมในการประเมินและแปลผลการตรวจจากกระทรวงสาธารณสุข

  คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษา ผลการตรวจในโรงพยายาบาล เพื่อดูความชุกของการพบยีนนี้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยของโรงพยาบาล และการติดตามญาติที่เกี่ยวข้องมารับการตรวจเพิ่มเติมตามจุดประสงค์ของกองทุนในการลดอันตราย จากโรคมะเร็งเต้านม

กระบวนการศึกษา

   เป็นการเก็บสถิติจากการบริการปกติของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรงตามข้อบ่งชี้ ที่มารับบริการในโรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

  1. ประกาศแนะนำโครงการของ สปสช ในทุกช่องทางประชาสัมพันธ์ ของโรงพยาบาล
  2. คัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่
    • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุไม่เกิน 45 ปี
    • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46-50 ปี ร่วมกับมีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งซ้ำหลายครั้ง หรือมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือ บุตรของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม) อย่างน้อย 1 คน ที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  3. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
    • มีประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุไม่เกิน 50 ปี หรือ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย หรือ มะเร็งรังไข่ หรือ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
    • มีประวัติในครอบครัวสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  4. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุ ที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ Triple Negative หรือเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
  5. แนะนำประโยชน์ที่จะได้รับจากการตรวจยีน BRCA นอกเหนือจากข้อมูลในการป้องกัน หรือการรักษามะเร็งเต้านมแล้ว แต่จะรวมถึงสภาพจิตใจ ค่าใช้จ่ายในการทดสอบยีน การตรวจที่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจและการตัดสินใจทางสุขภาพในอนาคตของสมาชิกในครอบครัวคนอื่นในกรณีที่ผลการตรวจการกลายพันธ์ของยีนเป็นบวก(7)
  6. ส่งพบแพทย์ ผู้ผ่านการอบรมในการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม ของกระทรวงสาธารณสุข ทำการ Pre-test genetic counseling โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
    • พันธุประวัติ (Pedigrees) ของผู้ป่วย
    • ให้การลงนามยินยอมเพื่อเข้ารับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมะเร็งทางพันธุศาสตร์ โดยมีการแจ้งถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด และผลลัพธ์ทางพันธุกรรมที่สามารถเป็นไปได้
  7. เจาะเลือดตามมาตรฐาน ส่งตรวจยีนในห้อง LAB ที่ได้มาตรฐานในโครงการ
  8. นัดพบแพทย์ เพื่อแปลผล Post-test genetic counseling หาก
    • ผลปกติ จะได้การดูแลตามมาตรฐานของมะเร็งเต้านม
    • หากผลการตรวจผิดปกติ จะให้คำแนะนำ แนวทางปฏิบิต ทั้งผู้ป่วยและญาติที่มีความเสี่ยง

ผลการศึกษา

       โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา ได้เริ่มให้บริการผ้ปู่วยในการเจาะ BRCA ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือน มกราคม 2568 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 188 ราย พบผู้ป่วย ตามข้อบ่งชี้ และ สามารถเข้าร่วมการตรวจในโครงการ จำนวน 22 ราย และญาติ 1 ราย พร้อมทั้งติดตามญาติผู้ป่วยที่พบยีนผิดปกติมาตรวจ 1 ราย  ตามตารางที่ 1

           ผู้ที่ได้รับการตรวจเป็นเพศหญิงทั้งหมด อายุเฉลี่ย 42 ปี

No Age ER PR HER2 Stage BRCA1 BRCA2
1
31
Pos
Pos
Neg
T1cN0Mx
Neg
Neg
2
50
Neg
Neg
Neg
T3N1Mx
Neg
Neg
3
52
Pos
Pos
Neg
T2N2Mx
Neg
Neg
4
35
Pos
Pos
Pos
T1cN1aM0
Neg
Neg
5
49
Neg
Neg
Neg
Tis N0M0
Neg
Neg
6
37
Neg
Neg
Neg
T2N0M0
Neg
Neg
7
38
Neg
Neg
Neg
T3N0M0
Neg
Neg
8
39
Neg
Neg
Neg
T1N1M0
Neg
Neg
9
33
Neg
Neg
Neg
DCIS
Neg
Neg
10
45
Neg
Neg
Neg
T3N3M0

Positive

11
43
Pos
Pos
Neg
T2N1M0
Neg
Neg
12
40
Pos
Pos
Neg
T2N1M0
Neg
Neg
13
44
Neg
Neg
Neg
T1cN0M0
Neg
Neg
14
36
Neg
Neg
Pos
T2N0M0
Neg
Neg
15
43
Pos
Pos
Pos
T2N0M0
Neg
Neg
16
59
Neg
Neg
Neg
T2N0M0
Neg
Neg
17
44
Pos
Pos
Neg
T2N0M0
Neg
Neg
18
56
Neg
Neg
Neg
T2N1M0
Neg
Neg
19
28
Neg
Neg
Neg
T2N0M0
Neg
Neg
20
21
บุตร No.10

Positive

21
66
Neg
Neg
Neg
T4N2M0

VUS

22
39
Neg
Neg
Neg
T2N0M0
Neg
Neg
23
41
Pos
Neg
Pos
Lung Met.
Neg
Neg

ตารางที่ 1 แสดงอายุ  ระยะโรคผลตรวจทาง Bio-marker และ ยีน BRCA

เมื่อแยกเฉพาะกลุ่มที่เป็น Triple Negative ผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย ดังตารางที่ 2

No Age stage Biomarker BRCA1 BRCA2
1
50
T3N1Mx

TNB

Negative
Negative
2
49
Tis N0M0

TNB

Negative
Negative
3
37
T2N0M0

TNB

Negative
Negative
4
38
T3N0M0

TNB

Negative
Negative
5
39
T1N1M0

TNB

Negative
Negative
6
45
T3N3M0

TNB

Positive

Negative
7
44
T1c N0M0

TNB

Negative
Negative
8
59
T2N0M0

TNB

Negative
Negative
9
44
T2N0M0

TNB

Negative
Negative
10
56
T2N0M0

TNB

Negative
Negative
11
28

T2N0M0

TNB

Negative
Negative
12
66
T4N2M0

TNB

Negative

VUS

13
39
T2N0M0

TNB

Negative
Negative

ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียด และผลการตรวจในผู้ป่วย Triple Negative  ซึ่งมีทั้งหมด 13 ราย

อภิปราย

    BRCA genes เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (tumor suppressor gene) ในเซลล์ปกติ ยีน BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งพบในโครโมโซมคู่ที่ 17 และ 13 ตามลำดับ จะช่วยดำรงเสถียรภาพของสารพันธุกรรม และป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ การกลายพันธุ์ของเซลล์ตั้งแต่กำเนิด (Germline Mutation) เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยพบได้ร้อยละ 9-24 ของมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว และร้อยละ 4.5 ในมะเร็งเต้านม(6)แต่จะก่อให้เกิดโรคหรือไม่นั้นขึ้นกับว่ามีปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมอื่นหรือไม่ตามทฤษฎี Two-Hit Hypothesis(7) ประชากรทั่วไปมีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 ประมาณ 1 ใน 300 รายถึง 1 ใน 800 ราย(8) การตรวจยีนในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงมีความคุ้มค่าในการตรวจ โดยเฉพาะ กลุ่ม Triple Negative ซึ่งผลการตรวจในผู้ป่วยมะเร็งในโครงการของ สปสช ของโรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ในตารางที่ 1 พบผลบวก BRCA1 1 ราย จากการตรวจ 22  ราย คิดเป็น 4.5 %  เมื่อดูเฉพาะกลุ่ม TNB จะพบผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติ 1 ราย จาก 13 ราย คิดเป็น 7.69 % ซึ่งไม่แตกต่างจาก ที่มีรายงานของการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแสดงนัยสำคัญต่อการค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก ซึ่งมีผลต่อการหายของโรค และมีผลต่อความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ยีนที่ผิดปกติ ก็เป็น ยีน BRCA1 ซึ่งมักพบในมะเร็งเต้านมชนิดที่เป็น Triple Negative ในทางกลับกัน BRCA2 มักพบในกลุ่มที่เป็น Estrogen and progesterone receptor positive(9,10)

   ภายหลังรับบริการตรวจคัดกรอง ในกรณีที่ผลตรวจพบว่ามีภาวะการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1 /BRCA2 สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ซึ่งภายใต้กองทุนบัตรทองครอบคลุมสิทธิ์ประโยชน์ดูแล ส่วนแนวทางของการลดความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้น มีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาป้องกัน ซึ่งวิธีการผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างและการกินยาต้านฮอร์โมนสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ทั้งนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำ ประกอบกับสภาวะจิตใจและการติดสินใจของผู้ป่วยเอง โดยทั่วไปจะมีข้อปฏิบัติมาตรฐาน ที่มีความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน ตั้งแต่การตรวจเต้านมด้วยตนเอง  การเอกซเรย์เต้านม Mammography ปีละครั้ง หรืออาจจะใช้  MRI ก็ได้  โดยมีรายงานการศึกษา ในแต่ละการตรวจแล้ว แต่เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำที่สูงที่สุดจึงควรทำทั้ง 3 อย่างควบคู่กันไป(6 ,11)

  ถ้าจะให้การรักษา เพื่อลดอัตราเสี่ยง ซึ่งทั่วไปการใช้ Raloxifene หรือTamoxifen ซึ่งมีรายงานช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 62% แต่จะเป็นในผู้ป่วยที่มี BRCA2 mutation แต่ในรายนี้ อาจจะไม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม เพราะเป็นในกลุ่ม  BRCA1 mutation ซึ่งพบ Estrogen receptor-positive breast เพียง ร้อยละ 10-24 (12,13)  โดยเฉพาะรายนี้ เป็น TNB

    ส่วนการตัดเต้านมทั้ง 2 ข้าง ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในคนที่มียีน BRCA ผิดปกติได้ถึงร้อยละ 80-100 ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด ส่วนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว และการตัดเต้านมด้านตรงข้าม เป็นข้อแนะนำที่จำเป็น  เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมในอีกข้าง ตามหลังการถูกวินิจฉัยมะเร็งเต้านมครั้งแรกภายใน 10 ปีถึง ร้อยละ 30(6,11)

    ในผู้ป่วยรายที่ยีนผิดปกติที่ตรวจพบในรายงานนี้  ได้รับการป้องกัน ด้วยการตัดเต้านมด้านตรงข้าม ส่วนลูกสาว ก็ได้รับการติดตามด้วย MRI และ Mammogram ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรค และถ้าพบโรคมะเร็ง ก็จะเป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งโอกาสการรักษาจะหายได้สูง และค่าใช้จ่ายจะต่างกันมาก โดยเฉพาะการใช้เคมีบำบัด หรือ ยามุ่งเป้าในระยะลุกลาม

สรุป

     โครงการตรวจหาความผิดปกติของยีน BRCA  เป็นโครงการที่ได้ประโยชน์  ช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยที่ผิดปกติ ในอัตราเดียวกับการศึกษาที่มีอยู่ นำไปสู่การตรวจพบในญาติ ซึ่งเข้าสู่ระบบการคัดกรอง หรือการป้องกันต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. M World health organization. Thailand Source: Globocan 2020.  International Agency for Research on Cancer; 2021.
  2. Institute NC. Hospital-Based Cancer Registry Annual Report 2010. Bangkok: National Cancer Institute Department of Medical Services Ministry of Public Health,; 2011.
  3. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัย และการรักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่แบบมุ่งเป้า (Precision Medicine)ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ จัดทำโดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการ แพทย์; 2566
  4. National Comprehensive Cancer Network. NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) Breast Cancer Screening and Diagnosis (Version 1.2020 – September17, 2020)
  5. National Comprehensive Cancer Network. NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology (NCCN Guidelines®) Genetic/Familial High-Risk Assessment: Breast, Ovarian, and Pancreatic (Version 1.2020 – December 4, 2019).
  6. Modesitt C. , Karen Lu . Hereditary Breast and Ovarian Cancer Syndrome. ACOG PRACTICE BULLETIN. 2017;182.
  7. Chial, H. Tumor suppressor (TS) genes and the two-hit hypothesis. Nature Education(2008) ; 1(1):177
  8. Struewing JP, Hartge P, Wacholder S, Baker SM, Berlin M, McAdams M, et al. The risk of cancer associated with specific mutations of BRCA1 and BRCA2 among Ashkenazi Jews. N Engl J Med 1997;336:1401–8.
  9. Gonzalez-Angulo AM, Timms KM, Liu S, Chen H, Litton JK, Potter J, et al. Incidence and outcome of BRCA mutations in unselected patients with triple receptor negative breast cancer. Clin Cancer Res 2011;17:1082–9
  10. Chen H ,Wu J,Zhang Z, et al. Association Between BRCA Status and Triple -Negative Breast Cancer: A Meta-analysis. Front.Pharmacol.9:909.doi:10.33892fphar.2018.00909
  11. Nelson HD, Fu R, Goddard K, Mitchell JP, Okinaka-Hu L, Pappas M, et al. Risk assessment, genetic counseling, and genetic testing for BRCA-related cancer: systematic review to update the U.S.Preventive Services Task Force recommendation. Evidence Synthesis No. 101. AHRQ Publication No. 12-05164-EF-1. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality; 2013.
  12. King MC, Wieand S, Hale K, Lee M, Walsh T, Owens K, et al. Tamoxifen and breast cancer incidence among women with inherited mutations in BRCA1 and BRCA2: National Surgical Adjuvant Breast and Bowel Project (NSABP-P1) Breast Cancer Prevention Trial. National Surgical Adjuvant Breast and Bowel Project. JAMA 2001;286:2251–6.
  13. Nelson HD, Smith ME, Griffin JC, Fu R. Use of medications to reduce risk for primary breast cancer: a systematic review for the U.S. Preventive Services Task Force. Ann Intern Med 2013;158:604–14.
Post Views: 61
Language »