ความแตกต่างระหว่างการฉายรังสี(ฉายแสง) 3 มิติและ 4 มิติ

การฉายรังสีแบบ 3 มิติ (3D Radiation Therapy)

  • ใช้ภาพจาก CT Scan ปกติ เพื่อสร้างภาพ 3 มิติของร่างกายและก้อนมะเร็ง
  • ไม่สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งระหว่างหายใจ
  • ต้องเพิ่มขอบเผื่อเพื่อให้แน่ใจว่ารังสีครอบคลุมก้อนมะเร็งทุกตำแหน่งที่อาจเคลื่อนที่ในขณะฉายแสง
  • อาจส่งผลให้รังสีเข้าไปโดนอวัยวะปกติรอบๆ มากขึ้นในขณะฉายแสงหากมีการเคลื่อนไหว

การฉายรังสีแบบ 4 มิติ (4D Radiation Therapy หรือ 4D-CT Planning)

  • ใช้เทคโนโลยี 4D-CT Scan เพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งระหว่างการฉายรังสีอันเนื่องจากการเคลื่อนไหวเช่น การหายใจ
  • สามารถประเมินตำแหน่งของก้อนในแต่ละช่วงการหายใจได้อย่างแม่นยำ ทำให้ไม่ต้องเพิ่มขอบเผื่อในการฉายรังสี
  • ช่วยลดปริมาณรังสีที่กระจายไปยังเนื้อเยื่อปกติ ทำให้ลดผลข้างเคียงจากการที่รังสีไปกระทบอวัยวะข้างเคียงก้อนมะเร็งได้เป็นอย่างดี เช่น หลอดเลือดหัวใจ กรณีฉายแสงบริเวณหน้าอกที่เคลื่อนไหวตามการหายใจ
  • รองรับเทคนิคขั้นสูง เช่น Gating หรือ Tumor Tracking เพื่อให้รังสีฉายตรงเฉพาะช่วงเวลาที่แม่นยำ
  • ช่วยเพิ่มอัตราการควบคุมมะเร็งในระยะยาวและลดภาระแทรกซ้อน

รังสีศัลยกรรม SBRT

  • เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่มีความแม่นยำสูง ใช้รังสีในปริมาณมาก จำนวนน้อยครั้ง กับบริเวณเป้าหมายขนาดเล็ก
  • สามารถใช้เทคนิค SBRT รังสีศัลยกรรมร่วมกับการฉายรังสี 4 มิติได้ในกรณีอวัยวะที่ต้องการฉายแสงมีการเคลื่อนที่ระหว่างการฉาย
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้หรือการผ่าตัดมีผลข้างเคียงสูง เช่น มะเร็งตับในบางลักษณะ
  • ตำแหน่งก้อนต้องสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ

     ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเทคนิคที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับ และคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

Post Views: 47
Language »