การใช้รังสีรักษา จีสต์ (GIST)

การใช้รังสีรักษา จีสต์ (GIST)

    GIST (Gastrointeslinal stromal tumor) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด ในทางเดินอาหารที่พบไม่บ่อย มักจะมีธรรมชาติ การกระจายในช่องท้อง

    การผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก ในกลุ่มที่เป็นรอยโรคเฉพาะที่และจะใช้ยา imatinib ร่วมด้วยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะกลับเป็นใหม่

      การใช้ยา lmatinib จะเป็นการรักษา ในระยะที่แพร่กระจาย

    รังสีรักษา ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานในการรักษา ยกเว้นในกรณีที่ใช้บรรเทาอาการ ซึ่งผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากอาการปวด หรือ การมีก้อนในช่องท้อง แน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ และรุนแรงเหมือนลำไส้อุดตันในที่สุด

    อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการฉายรังสี เริ่มมีรายงานว่ารังสีรักษา มีประโยชน์ ในการควบคุมการลุกลามเฉพาะที่ โดยเฉพาะเมื่อดื้อต่อยา โดยจากการติดตามผลการควบคุมโรคในระยะยาว สรุปได้ว่า GIST ตอบสนองได้ดีต่อรังสีไม่ได้เป็นกลุ่มที่ดื้อต่อรังสี แต่ด้วยเหตุที่โรคเกิดในช่องท้อง ซึ่งอวัยวะโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ไต หรือลำไส้ล้วนแต่ไวต่อรังสี ทำให้การรักษาด้วยรังสีทำได้ยาก และไม่มีบทบาทมากนัก

    ปัจจุบัน ความสามารถในการวางแผนการรักษาด้วยรังสี ทำให้รังสีรักษาที่นอกจากใช้เพื่อบรรเทาอาการแล้ว ยังมีผู้ใช้รังสีในบทบาทที่เป็นทางเลือก เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่มุ่งหวังให้หายขาด ในกรณีที่

  1.  ไม่สามารถทนต่อยา หรือดื้อต่อยา
  2. ศัลยแพทย์ พิจารณาแล้วไม่สามารถผ่าตัดได้
  3. มีรอยโรคเหลืออยู่หลังการผ่าตัด
  4. ในรอยโรคที่กลับเป็นใหม่ 

              พร้อมกันนี้ พบว่า ปริมาณรังสีต่อครั้งจะมีผลต่ออัตราการควบคุมโรค ซึ่งแพทย์ทางมะเร็งวิทยา จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

บทความที่น่าสนใจ

Post Views: 8,828
Language »