กัญชาในทางการแพทย์ ตอนที่ 4

กัญชาในทางการแพทย์ ตอนที่ 4
(น้ำมันกัญชา ได้ผลในการรักษามะเร็งจริงหรือไม่ ?)

    วันนี้ขอนำบทความจาก Medical News Today ในหัวข้อเรื่อง น้ำมันกัญชา
ได้ผลในการรักษามะเร็งจริงหรือไม่ เขียนโดยRachel Nall เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021

     Cannabidiol (CBD) เป็นสารประกอบที่พบในกัญชาที่อาจจะมีประโยชน์ในการรักษาโรค มีการนำ CBD มาผสมกับน้ำมัน ที่เรียกว่าน้ำมันกัญชา หรือ CBD oil

   เริ่มจาการรายงานในปี 2016 ที่แสดงผลที่น่าสนใจว่าสามารถลดอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในมะเร็งหลายชนิด ทั้งในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง The National Cancer InstituteTrusted Source พบว่า สามารถเพิ่มการดูดซึมของยา ทำให้ประสิทธิภาพของยาในการรักษาสูงขึ้น

    ในปี  2019 literature reviewTrusted Source  แสดงหลายรายงาน ที่บ่งชี้ว่าสารสกัด CBD ช่วยลดความสามารถในการมีชีวิตอยู่ของเซลล์มะเร็ง และป้องกันการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะในมะเร็งตับอ่อน ที่อาจจะลดารเติบโต ลดการลุกลาม และยังเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง รวมทั้ง รายงานในปี 2014 ที่แสดงผลความสามารถในการยับยั้งการกระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่

    A 2019 studyTrusted Source  แสดงผลการการเพิ่มความไวต่อรังสีของเซลล์ อย่างไรก็ตาม การวิจัยเหล่านี้ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังมีส่วนน้อยที่เป็นการทดลองทางคลินิกในคน ซึ่งยังต้องการข้อมูลที่พิสูจน์ชัดอีกมาก แต่การวิจัยก็ถูกจำกัด ด้วยเรื่องจริยธรรม เพราะการรักษาหลักยังคงต้องอยู่ จึงบอกผลเดี่ยวของการใช้กัญชาได้ยาก แม้ว่าเรายังต้องการการวิจัย อีกมาก แต่ก็พอมีหลักฐานที่แสดงว่าน้ำมันกัญชา อาจจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็ง แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงว่าได้ผลในเรื่อง การรักษาอาการจากโรค หรือ วิธีการรักษา ซึ่งจะนำเสนอต่อไปเป็นระยะๆ

    หลักสำคัญ คือ ต้องปรึกษาแพทย์ว่าไม่มีปฏิกิริยา ด้านลบต่อการรักษามาตรฐานและต้องไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาหลักที่มีในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้กัญชาเดี่ยวๆ ที่มุ่งหวังในการรักษาโรคมะเร็ง 

 

อ้างอิง : www.medicalnewstoday.com

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

Post Views: 2,605
Language »