SBRT กับ ภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอด อีกหนึ่งความหวังในปี 2020

SBRT กับ ภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอด อีกหนึ่งความหวังในปี 2020

มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่รักษาได้ไม่ง่าย ส่วนใหญ่มักจะตรวจพบในระยะที่ลุกลลาม ยกเว้นในการตรวจค้นหามะเร็งผู้ที่มีความเสี่ยง LDCT(Low dose ct) ซึ่งจะทำให้มีโอกาสผ่าตัดได้   

การรักษามาตรฐาน มีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี และยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคเป็นการโชคดีที่ปัจจุบันมีพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องยามุ่งเป้า การฉายเทคนิคพิเศษต่างๆ รวมทั้งการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

วันนี้จะนำเรื่อง SBRT  ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญและได้ผลที่ดีแตกต่างจากการฉายรังสีทั่วไป และภูมิคุ้มกันบำบัดที่จะทำให้เซลล์ตาย หรือ Progrmmed Cell Death1 (PD-1)

  ภูมิคุ้มกันบำบัด   เป็นแนวทางใหม่เป็นความหวังในการรักษามะเร็งหลายชนิดที่แสดงผลทางคลินิคโดยเฉพาะเรื่องมะเร็งปอด NON-SMALL–CELL LUNG CANCER (NSCLC) แต่ในกรณีในระยะที่ลุกลาม มักจะมีโอกาสดื้อต่อการใช้ PD 1/PD L1 INHIBITORS

     ในหลายการศึกษา ทั้งในห้องปฎิบัติการและผู้ป่วย ได้แสดงให้เห็นถึงผลของรังสีรักษา ที่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันที่จะทำลายเซลล์มะเร็งและยังมีผลกระตุ้นให้ กลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า REFRACTORY “COLD” TUMORS ให้เกิดการตอบสนองต่อการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

    จึงเป็นที่มาของการใช้ SBRT หรือ STEREOTACTIE BODY RADIATION THERAPY ซึ่งเป็นเทคนิคการฉายรังสีขั้นสูง ซึ่งได้รับการยอมรับว่า ได้เพิ่มอัตราการควบคุมโรค และอัตราการอยู่รอด รวมทั้งควบคุมการกระจายของโรค โดยการวิจัยได้แสดงผลของ SBRT ที่เหนื่อกว่าการฉายรังสีทั่วไป ที่สามารถให้ปริมาณรังสี ในขณะที่ปลอดภัยต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้ผลเสมือนการผ่าตัด แล้วที่สำคัญคือการพบว่า SBRT น่าจะให้ผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

   ดังนั้น การใช้ PD-1/PD-L1 INHIBTORS ร่วมกับ SBRT น่าจะได้ผลการรักษาที่ดีใน NSCLC ดังรายการศึกษา THE PEMBRO-RT PHASE 2 RANDOMIZED CLINICAL TRLAL ที่ใช้ปริมาณรังสีจากการฉาย SBRT 8 *3 ครั้ง จะเสริมผลการรักษา โดยเพิ่มผลการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดด้วย PEMBROLIZIMAB ทั้งอยู่อัตราการตอบสนอง ระยะเวลาปลอดโรค และอัตราการอยู่รอด

อย่างไรก็ตาม ก็ควรระมัดระวังในการใช้เทคนิค SBRT เพราะส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ แต่อาจจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน โดยพบว่าในปริมาณรังสีที่เหมาะสม จะให้อัตราการอยู่รอดสูง 2 เท่า ในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 1 ที่มีข้อจำกัดในเรื่องการผ่าตัด โดยให้ปริมาณ BED3<5GY ในผู้ป่วยที่ปอดปกติและในกรณีปอดทำงานได้น้อยกว่าปกติ ควรลดปริมาณรังสีลง BED3<4GY

   ทั้งนี้ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ที่เขียนภาษาที่อาจจะไม่สามารถรู้ถึงความหมาย เพราะเป็นเรื่องทางการแพทย์เฉพาะกลุ่ม แต่ข้อสรุป คือ มะเร็งปอด ในปี 2020 ได้มีความเพิ่มมากขึ้นอาการใช้รังสี SBRT ร่วมกับภูมิคุ้มกันบำบัด ทั้งนี้ท่านควรปรึกษาและร่วมวางแผนการรักษากับรังสีแพทย์เพื่อความมั้นใจในสิ่งเหล่านี้

Copyright © 2022 Sriracha Canceralliance Alliance Hospital.

Post Views: 1,373
Language »