SBRT ฉายรังสีเทคนิคขั้นสูง

SBRT ฉายรังสีเทคนิคขั้นสูง

“แม่นยำมาก”
“ใช้เวลารักษาน้อยลงมาก”
“ลดผลข้างเคียงได้อย่างมาก”
“อายุเยอะ ผ่าตัดมีความเสี่ยงสูง”
“ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล”
“ก้อนเคลื่อนไหวก็ยังตามจับตำแหน่งของก้อนได้”
“มะเร็งก้อนเล็ก ผ่าไม่ได้ แต่ฉายรังสีรักษาให้หายได้”

      การฉายรังสีร่วมพิกัด (Stereotactic body radiation หรือ SBRT) เป็นการฉายรังสีเทคโนโลยีขั้นสูงของการรักษาโรคมะเร็ง ที่ได้ผลเหมือนการผ่าตัด จึงเรียกว่า รังสีศัลยกรรม ผู้ป่วยจำนวนมากมายได้ประโยชน์จากการฉายรังสีศัลยกรรม เห็นผลการรักษาที่ดีและชัดเจนเป็นอย่างมาก

       เบื้องหลังในการมอบความปลอดภัยและประโยชน์ในการรักษามาสู่คนไข้มะเร็งด้วยเทคนิคนี้ นอกจากจะต้องใช้เครื่องฉายรังสีสมัยใหม่ ยังต้องมีระบบภาพนำวิถี เพื่อการระบุตำแหน่งของก้อนมะเร็งได้อย่างแม่นยำ และยังต้องประกอบด้วยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการใช้เทคนิคขั้นสูงนี้อีกด้วย

    SBRT จะนำรังสีพุ่งตรงไปยังเนื้อเยื่อกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ จึงลดโอกาสที่เนื้อเยื่อรอบๆจะถูกทำลายให้น้อยที่สุด ก้อนมะเร็งจะรับรังสีปริมาณที่คำนวณแล้วอย่างแม่นยำเพื่อทำลายก้อนมะเร็งให้หายไป การฉายรังสีเพื่อรักษาด้วยเทคนิคนี้ จึงใช้เวลาน้อยลง ผลข้างเคียงลดลง และใช้ทดแทนการผ่าตัดได้ในบางกรณีเช่น ก้อนที่มีขนาดเล็ก ก้อนอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด ผู้ป่วยอายุมากที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด

     นอกจากนี้แล้ว ในขณะที่ก้อนเคลื่อนไหว การฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ก็ยังสามารถฉายรังสีไปยังก้อนมะเร็งขนาดเล็กที่เคลื่อนไหว ได้อย่างแม่นยำ เช่น ก้อนมะเร็งที่เคลื่อนไหวตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วยขณะที่กำลังฉายรังสี

   อย่างไรก็ตาม การฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ไม่สามารถใช้ได้กับทุกชนิดมะเร็ง หรือ ทุกระยะของมะเร็ง 

    รังสีแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้พิจารณาว่าใครจะได้รับประโยชน์จากเทคนิคการรักษานี้ เมื่อแพทย์เห็นว่าโรคและระยะของมะเร็งเหมาะสมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคนี้ แพทย์จะทำการนัดเพื่อทำการจำลองการฉายรังสี (Simulation) โดยจะทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งและขอบเขตที่แม่นยำของก้อน รวมถึงตรวจสอบการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งที่เคลื่อนไหวไปตามจังหวะของการหายใจหรือการขยับร่างกาย นักฟิสิกส์จะคำนวณปริมาณรังสีเพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดกับก้อนเนื้อ 

     และในสัปดาห์ต่อมา แพทย์จะนัดเข้ารับการฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการจัดท่าเหมือนวันที่ทำการจำลอง (Simulation) การฉายรังสี เมื่อฉายรังสีเสร็จในแต่ละครั้ง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้  ม่ต้องนอนโรงพยาบาล และหลังการฉายรังสีจบ แพทย์จะนัดติดตามผลการรักษาเป็นระยะ

   ผลข้างเคียงของการฉายรังสีด้วยเทคนิค SBRT ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งแพทย์จะให้ข้อมูลกับคนไข้ถึงอาการข้างเคียงของการฉายรังสีสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยความแม่นยำอย่างมาก รวมถึงความสามารถในการจับภาพเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ การฉายรังสีด้วยวิธีนี้จึงเหมาะสมกับก้อนขนาดเล็ก หรือก้อนอยู่ในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด เช่น 

  •  มะเร็งหรือเนื้องอกสมอง
  •  มะเร็งปอดระยะเริ่มต้น
  •  มะเร็งปอดที่มีการกลับเป็นซ้ำ
  •  มะเร็งไต
  •  มะเร็งต่อมลูกหมาก
  •  มะเร็งตับระยะเริ่มต้น
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย
  • ลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งกระดูกและไขสันหลัง

    โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง CAH มุ่งมั่น ในการให้การรักษาคนไข้มะเร็งด้วยมาตรฐานการรักษา เครื่องมือขั้นสูงและทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความสุขและคุณภาพชีวิตของคนไข้มะเร็งทุกคน

Post Views: 3,586
Language »